5.5 ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
5.1 ปรัชญาหลักสูตร
หลักสูตรนี้มุ่งผลิตครู ที่มีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้และมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุขและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข มีความเข้มแข็งพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ
5.2 ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิต ที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ ในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตอบสนองความต้องการผู้ที่ประสงค์ขอรับใบประกอบวิชาชีพครูและไม่ประสงค์ขอรับใบประกอบวิชาชีพครู จึงจัดเป็นทางเลือกที่หลากหลายให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาได้เข้าศึกษาอย่างครอบคลุม
5.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์ในการผลิตมหาบัณฑิตทางหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ให้มีคุณลักษณะ ดังนี้
5.3.1 เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความอดทน อดกลั้น เสียสละ รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล รักและศรัทธาต่อวิชาชีพครู สามารถแสดงออกทางด้านคุณธรรม จริยธรรม อย่างกล้าหาญ
5.3.2 เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะทางปัญญา มีถาวะผู้นำทางวิชาการ มีความตระหนักในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ให้กับผู้เรียน มีสมรรถนะและประสบการณ์ตรงตามมาตรฐานการศึกษา
5.3.3 เป็นผู้นำทางวิชาการ สามารถค้นคว้า วิจัย ที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ อนุรักษ์และพัฒนาการศึกษาทางด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ อย่างครูมืออาชีพ สามารถคิด วิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ที่นำมาสู่การผลิตงานวิจัย นวัตกรรม หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ อันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ต่อครูและผู้เรียนได้
5.4 คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
5.4.1 มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ ในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สามารถประยุกต์ใช้หลักการ แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
5.4.2 มีทักษะในการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของหลักสูตรอย่างมีระบบและขั้นตอน โดยให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนความรู้กับนักวิชาการในศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
5.4.3 มีความรู้ ทักษะและจรรยาบรรณในการผลิตผลงานวิจัย การเผยแพร่งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อันก่อประโยชน์ต่อสาธารณะ
5.4.4 มีจิตสาธารณะและความสามารถในการบริการวิชาการแก่ชุมชน
5.4.5 มีความพร้อมในการเป็นผู้นำทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาชุมชน